แนะนำตัว

“MEKA”   “เมฆา”

Cloud Coffee & Tea Machine

เครื่องชงกาแฟและชา รูปลักษณ์ใหม่ สไตล์โมเดิร์นบาร์

เครื่องชงมีทั้งแบบ 1 และ 2 หัวชง  ทั้ง 2 แบบ มีให้เลือกทั้งระบบ Multi-boiler และ Heat Exchange

ควบคุมการให้ความร้อนด้วย PID Control System ทั้งระบบ    ตั้งค่าความร้อนอย่างง่ายดาย ด้วยการป้อนตัวเลขบนหน้าจอทัชสกรีน

ระบบการชงแบบ Multi-Stage Extraction  โดยสามารถกำหนดปริมาณน้ำที่ใช้และเวลาพักระหว่างการสกัดได้ถึง 5 รอบต่อการชงหนึ่งครั้ง  ซึ่งออกแบบมานอกเหนือจากการชงกาแฟแบบปกติ ให้สามารถชงชาให้เข้มข้นได้ด้วย

ตั้งโปรแกรมการชงด้วยการกำหนดปริมาณน้ำไว้ล่วงหน้าได้ 4 โปรแกรมต่อหัวชง กำหนดปริมาณด้วยการป้อนค่าตัวเลขบนหน้าจอสัมผัสอย่างง่ายดาย

หน้าจอทัชสกรีนใช้งานง่าย แสดงสถานะอุณหภูมิ, แรงดัน, เวลาในการชงแสดงบนหน้าจอ

ทำแรงดันไอน้ำได้สำหรับการทำฟองนมแบบ Micro Foam และเปิดใช้ไอน้ำเพื่อทำฟองนมต่อเนื่องยาวนาน ด้วยการชดเชยความร้อนทันที

คันโยกวาล์วสตีม และวาล์วน้ำร้อน โยกใช้ได้รอบทุกทิศทาง 360 องศา และสามารถถอดหัวเปลี่ยนเป็นลูกเล่น ให้มีเอกลักษณ์พิเศษของแต่ละร้านได้

ใช้ปั๊มน้ำโรตารี่ ยี่ห้อ PROCON หนึ่งในยี่ห้อปั๊มน้ำสำหรับเครื่องชงกาแฟที่ดีที่สุดในโลก

IMS Precision Screen Shower นวัตกรรมการผลิต screen shower ระดับนาโนเทคโนโลยีจากอิตาลี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายลองใช้งาน ได้ที่เบอร์ 0651624628

คลิปการชงกาแฟ

คลิปการสตีมนม

**

ทีเด็ดพิเศษ ด้วยโปรแแกรมการชงชา

การชงชาเย็นให้เข้มข้น​ ควรมีสเต็ปพักชา​ อย่างที่เคยเขียนไว้ในโพสเฟสบุ๊ค

คิดภาพตามค่ะ​ หากปกติทั่วไปชงชาสด ใช้เครื่องชงกาแฟชง​ ปล่อยน้ำไหลโจ๊ก​ผ่านชาทีเดียว ชาที่ได้รสจะเจือจาง​เหมือนน้ำร้อนผ่านชา

แต่ถ้าทำเป็นสเต็ป ​ชงแล้วหยุด​พัก สัก4-5​รอบ​จะทำให้ชาเข้มข้นขึ้น​ การที่ปล่อยน้ำร้อนแช่ใบชา​ แล้วกดหยุดน้ำ​ เป็นการหมักชาหรือแช่ชาให้เกิดการพองตัวของใบชา

เคล็ดลับนี้สามารถทำได้กับเครื่องชงกาแฟทั่วไป​ โดยบาริสต้าต้องคอยจับเวลาและดูปริมาณน้ำที่เครื่องชงเอง​ในแต่ละรอบเอง

แต่ถ้าต้องการรสชาติที่คงที่มากขึ้นในทุกๆแก้วที่เสิร์ฟ โดยเฉพาะการที่มีบาริสต้าทำงานหลายคน เรามีโปรแกรมการชงที่ควบคุมปริมาณและเวลา มาตอบโจทย์นี้ค่ะ

สำหรับเครื่องเอสเพรสโซ่เมฆา เราสามารถกำหนดปริมาณน้ำที่ไหลออก​และเวลาหยุดพักได้อิสระ ให้ทำงานเองตามขั้นตอนอัตโนมัติ​

ยกตัวอย่างในรูปเรากำหนด5สเต็ปค่ะ 

โดย
สเต็ป1 น้ำร้อนไหลออก​40มล.​ แช่ชา​30วิ
สเต็ป2 น้ำร้อนไหลออก​50มล.​ แช่ชา​30วิ
สเต็ป3 น้ำร้อนไหลออก​40มล.​ แช่ชา​20วิ
สเต็ป4 น้ำร้อนไหลออก​40มล.​ แช่ชา​20วิ
สเต็ป5 น้ำร้อนไหลออก​40มล.​ เสร็จค่ะ

จริงๆกำหนดเท่าไรก็ได้แล้วแต่สูตรที่ร้านทดลองเลยค่ะ

ระหว่างรอเครื่องสกัดชา​ บาริสต้าลั้นล้าได้ค่ะ​ ไม่ว่าจะเตรียมปรุงนมรอ​ เตรียมน้ำแข็ง​ หันไปล้างบีกเกอร์​ เช็ดโต๊ะ​ รับลูกค้ารายใหม่ต่อค่ะ​ แอดมินไม่ได้โม้ค่ะ​ แถมสตีมนมด้วย

ทำชาด้วยเครื่องนี้​ชีวิตบาริสต้าดีขึ้นเยอะ​ ไม่ต้องคอยมากดๆหยุดๆเครื่องไปไหนไม่ได้ค่ะ

**

Specification

MEKA : C2 Multiboiler MODEL

2 Head Groups – C2 Model

Voltage / Power:
Quantity of boiler:
Boiler Capability: 
Desktop-part area:
Undercounter-part Dimension:
Cut-out area on the counter top:
220V/ 380V/ 6600W
5
10.8L (7.2L, 1.5Lx2, 0.3Lx2)
920 x 470 mm
855 x 355 x 450 mm
860 x 410 mm                    

1 Head Groups – C2 Model

Voltage / Power:
Quantity of boiler:
Boiler Capability: 
Desktop-part area:
Undercounter-part Dimension:
Cut-out area on the counter top:
220V / 2000W
3
6.3L (4.5L, 1.5L, 0.3L)
700 x 470 mm
635 x 355 x 450 mm
640 x 410 mm                    

MEKA : CLASSIC MODEL

2 Head Groups – Heat Exchange Machine

Voltage / Power:
Quantity of boiler:
Boiler Capability: 
Desktop-part area:
Undercounter-part Dimension:
Cut-out area on the counter top:
220V / 3000W
1
11L
920 x 420 mm
855 x 355 x 450 mm
860 x 360 mm                    

1 Head Groups – Heat Exchange Machine

Voltage / Power:
Quantity of boiler:
Boiler Capability: 
Desktop-part area:
Undercounter-part Dimension:
Cut-out area on the counter top:
220V / 2000W
1
4.5L
700 x 420 mm
635 x 355 x 450 mm
640 x 360 mm                    

2 Head Groups – Multiboilers Machine

Voltage / Power:
Quantity of boiler:
Boiler Capability: 
Desktop-part area:
Undercounter-part Dimension:
Cut-out area on the counter top:
220V/ 380V/ 6000W
4
11.7L  (7.2, 1.5 x 3)
920 x 420 mm
855 x 355 x 450 mm
860 x 360 mm                    

ภาพขนาดเครื่อง

**

เครื่องระบบ Heat Exchange และ Multiboiler ต่างกันอย่างไร

แบบ Heat Exchange ใช้หม้อต้มใหญ่หม้อเดียว มีระบบแลกเปลี่ยนความร้อน นำความร้อนไปใช้ที่ส่วนต่างๆ ทำให้เครื่องสองหัวจะใช้ได้อุณหภูมิเดียวกันครับ ข้อดีคือประหยัดพลังงาน ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า สามารถเสียบปลั๊กแบบปกติได้เลย

แบบ Multiboiler จะมีหม้อต้ม 4 หม้อ ควบคุมความร้อนแยกกันอิสระ
ข้อดีคือกำหนดอุณหภูมิได้ทุกหม้อต้ม แต่จะใช้ไฟฟ้าเยอะกว่าแบบแรก การต่อใช้ไฟฟ้าจะใช้พาวเวอร์ปลั๊ก หรือต่อเข้ากับชุดเซอร์กิตเบรคเกอร์ครับ

แล้วควรแนะนำแบบไหน

เนื่องจากความต้องการของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน ถ้าคุณลูกค้าต้องระบบที่ไม่ซับซ้อน และประหยัดพลังงาน ต้องการความคล่องตัวในการต่อกับระบบไฟฟ้า เสียบกับปลั๊กไฟฟ้าตามบ้านทั่วๆไป ก็จะเหมาะกับเครื่อง Heat Exchange ครับ

ส่วนระบบ Multiboiler ก็จะเหมาะกับคนที่ชอบทดลอง และต้องการใช้งานต่างอุณหภูมิกันในแต่ละหัวชงครับ ด้านการติดตั้งก็จะเหมือนเครื่องชงมัลติบอยเลอร์ทั่วไป เนื่องจากให้กระแสไฟฟ้าสูงขึ้น จึงต้องใช้กับสายไฟขนาดใหญ่ขึ้นกว่าสายบ้านทั่วไป ควรเป็นสายไฟขนาด 4 ตร.มม.เป็นอย่างน้อย ต่อตรงจากเซอร์กิตเบรคเกอร์เลย หรือใช้ร่วมกับปลั๊กไฟพาวเวอร์ และมีชุดจ่ายไฟฟ้าที่รองรับกระแสไฟฟ้าขนาด 30 แอมป์ขึ้นไปครับ

**

Installation การติดตั้งเครื่อง

ภาพตัวอย่างการติดตั้ง

การเตรียมเคาท์เตอร์

        – ความสูงประมาณ 85-90 ซม. (หรือตามความเหมาะสมทางสรีระของผู้ใช้งาน)

(1) เครื่องชง MEKA รุ่น C2 Multiboiler

        (1.1) เจาะช่องเคาท์เตอร์ ขนาด 86 x 41 ซม สำหรับเครื่อง 2 หัวชง

        (1.2) เจาะช่องเคาท์เตอร์ ขนาด 64 x 41 ซม สำหรับเครื่อง 1 หัวชง

(2) เครื่องชง MEKA รุ่น Classic

        (2.1) เจาะช่องเคาท์เตอร์ ขนาด 86 x 36 ซม สำหรับเครื่อง 2 หัวชง

       (2.2) เจาะช่องเคาท์เตอร์ ขนาด 64 x 36 ซม สำหรับเครื่อง 1 หัวชง

ระบบน้ำ

1) น้ำกรองสะอาดสำหรับชงกาแฟ (ระบบกรองที่ควบคุมแร่ธาตุไม่ให้เกิดตะกรันง่าย)   

       * หรือ ลองพิจารณาการกรองน้ำระบบ RO นะครับ จะได้ประโยชน์ทั้งน้ำสะอาด และระบบนี้จะมีถังแรงดันเก็บน้ำ จะช่วยลดปัญหาน้ำขาดช่วงเข้าเครื่องชง เผื่อเวลาน้ำไม่ไหลชั่วคราวด้วยครับ ซึ่งน้ำ RO อาจจะไม่ได้ให้รสชาติที่ดีที่สุดที่เกิดจากแร่ธาติที่อยู่ในน้ำ แต่เมื่อชั่งน้ำหนักจากประโยชน์ด้านอื่น รวมทั้งลดปัญหาตะกรันในเครื่อง ผมคิดว่าน่าสนใจไม่น้อยครับ เพราะปัจจัยของเรื่องรสชาติยังมีปัจจัยเรื่องอื่นๆอีกมากครับ อีกทั้งเครื่องกรองน้ำ RO ในปัจจุบันราคาถูกลงมากครับ

2) น้ำดีสำหรับต่อที่ล้างพิชเชอร์ 1 ท่อ น้ำประปาทั่วไปไม่จำเป็นต้องกรองครับ
3) ท่อน้ำทิ้ง หรือใช้ถังน้ำทิ้งแทนได้

* ตำแหน่งท่อน้ำประปา และท่อน้ำทิ้ง ควรอยู่ในตำแหน่งที่เครื่องไม่บังนะครับ เพื่อความสะดวกในการถอดเข้าออกครับ

ระบบไฟฟ้า

1) ระบบHeat Exchange 2 หัวชง และ 1 หัวชง
ใช้กำลังไฟฟ้า 3000 และ 2000 วัตต์ ตามลำดับ
กินกระแสไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 14 และ 9 แอมป์
สามารถเสียบปลั๊กไฟบ้านทั่วไปที่ใช้ขนาด 2.5 ตร.มมได้ และตรวจเช็คเต้าปลั๊กเสียบไม่ให้หลวมขณะใช้งาน และต้องมีสายดินเพื่อความปลอดภัย
หากจะมีการเดินสายไฟใหม่พอดี แนะนำให้ใช้สายไฟขนาด 4 ตร.มม.ขึ้นไปครับ

2) ระบบแยกหลายหม้อต้ม 2 หัวชง
ใช้กำลังไฟฟ้า 6000 วัตต์
กินกระแสไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 28 แอมป์ โดยเฉพาะช่วงเวลาเริ่มต้นเปิดเครื่อง ซึ่งจะทำความร้อนพร้อมกันทุกหม้อ
ใช้สายไฟขนาด 6 ตร.มม. ขึ้นไป
ต่อตรงจากจุดจ่ายกระแสไฟฟ้า ที่รองรับ 30 หรือ 32 แอมป์ ต่อตรงจากเซอร์กิตเบรคเกอร์เลย หรือใช้ร่วมกับปลั๊กไฟพาวเวอร์ขนาดรองรับกระแสไฟฟ้า 32 แอมป์ก็ได้ครับ

* ตำแหน่งปลั๊กไฟ ไม่ควรอยู่ที่พื้น หรือใต้เครื่องนะครับ เพื่อความปลอดภัยจากการเปียกน้ำครับ ควรอยู่ที่ผนังครับสูงจากพื้น สัก 1 ฟุตขึ้นไป และอยู่ในตำแหน่งที่เครื่องไม่บังครับ เพื่อความสะดวกในการถอดปลั๊กเข้าออกครับ